วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คุณค่าการตลาดในสิงคโปร์

จากการไปนำเสนอบทความวิจัยที่สิงคโปร์ระหว่างวันที่ 21-23 ก.ค. 53 ได้เรียนรู้และมีข้อสังเกต 4 ประการ ดังนี้
         1)  ประเทศสิงคโปร์สะอาดและมีวินัยสูง  ไม่มียุ่ง
         2)  คนสิงคโปร์รักชาติมากและมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์การให้บริการที่ดีเลิศระดับโลก
       3) ประเทศสิงคโปร์มีฐานะทางเศรษฐกิจดี  ได้ลงทุนว่าจ้างคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาให้ความรู้แก่นักธุรกิจ อาจารย์ และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย  เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ทันสมัยและสามารถปรับกลยุทธ์รวมทั้งแผนดำเนินงานให้ทันโลกทันเกตุการณ์
         4) รูปแบบการจัดประชุมวิชาการของสิงคโปร์ต่างไปต่างประเทศตะวันตก  โดยเน้นการผสมผสานระหว่างภาคทฤษฎีและข่าวสารทางวิชาการที่ทันสมัยมาก กับ ความรู้เชิงประยุกต์ที่สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีหรือวิชาการไปใช้ในภาคปฏิบัติ   ขณะที่ประเทศตะวันตกเน้นการให้ความรู้ทางทฤษฎีและวิชาการสมัยใหม๋เป็นหลัก

    ในการประชุมวิชาการที่ Singapore Management University ระหว่างวันที่ 21-23 ก.ค. 53  รูปแบบการจัดการที่แตกต่างไปจากประเทศตะวันตก   เป็นดังนี้

    วันแรก 21 ก.ค. 53 เชิญปรมาจารย์ชื่อดังจากสหรัฐฯ มาให้ความรู้ด้านบริการสมัยใหม่ให้กับนักศึกษาปริญญาโท และคนนอกที่สนใจสมัครเข้ามาเรียนรู้  โดยจ่ายคนละ 500 เหรียญสิงคโปร์หากเป็นสมาชิก  (1 เหรียญสิงคโปร์ = 23.73 บาท  หรือประมาณ 11,800 - 20,000 บาท)  หากไม่เป็นสมาชิกจ่ายคนละ 1,000 เหรียญสิงคโปร์   และมีการทำกรณีศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้แนวคิดสมัยใหม่   ซึ่งมีคนสมัครเรียน ประมาณ 80 คน

     วันที่สอง 22 ก.ค. 53 เชิญปรมาจารย์ชื่อดังจากประเทศตะวันตกหลายประเทศมานำเสนอผลงานวิจัย แล้วเชิญนักธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และหรือขนาดเล็กของสิงคโปร์มาเล่าประสบการณ์การดำเนินงานทางธุรกิจ   จากนั้นจัดกลุ่มอภิปรายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งที่เป็นปรมาจารย์  นักธุรกิจ  ผู้สื่อข่าว ร่วมแสดงความเห็นในหัวข้อวิจัยที่กำหนด   แล้วเปิดโอกาสให้ผู้เข้าฟังได้ซักถามประมาณ 3-4 คำถามต่อหัวข้อวิจัย  มีประมาณ  4  หัวข้อ  ซึ่งทุกหัวข้อเกี่ยวกับการบริการเป็นเลิศ  ทำให้ผู้ฟังได้ข้อคิดหลากหลายด้านที่ทันสมัยทั้งในด้านวิชาการและภาคปฏิบัติ   มีคนสมัครเรียนประมาณ 300 คน

   วันที่สาม 23 ก.ค. 53 เป็นการนำเสนอบทความวิจัยหรือวิชาการของคณาจารย์ต่าง ๆ จากเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์  สหรัฐฯ  เยอรมันฯลฯ   มีคนสมัครมานำเสนอบทความวิจัยประมาณ 50 คน   มีการซักถามและแสดงความเห็น  แต่ไม่เข้มข้นเท่าวันที่สอง

   แม้ว่าการจัดประชุมครั้งนี้จะเป็นครั้งที่สอง  แต่สิงคโปร์ก็มีความพยายามสูงที่จะสร้างความแตกต่าง  ที่สำคัญฝ่ายจัดเตรียมการประชุมมีอายุไม่มากประมาณ 20-30 ปี  ในการดำเนินการจัดประชุมก็ให้นักศึกษาปริญญาตรีมาคอยประสานงานและต้อนรับแขกต่างประเทศ   ทุกคนพูดภาษาอังกฤษคล่อง  อีกทั้งพูดภาษาจีนได้ด้วย   หลายคนที่มาทำงานมีความตั้งใจจะศึกษาสูงขึ้น  โดยบางคนจะไปศึกษาต่อต่างประเทศ  จึงเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดี  เพราะได้พบปรมาจารย์ชื่อดัง  ได้ฟังการบรรยาย  ได้ทำความรู้จักในเบื้องต้น  ส่งผลให้มีโอกาสเข้าไปศึกษาต่อต่างประเทศได้ง่ายขึ้น  เพราะมีการสร้างเครือข่ายสัมพันธ์ผ่านมหาวิทยาลัย    ขณะเดียวกันคนทำงานวัยรุ่นเหล่านี้ยังได้ฝึกการต้อนรับและสร้างสัมพันธ์กับนักวิจัยและนักวิชาการระหว่างประเทศ  เพื่อเป็นฐานสำคัญในการนำสิงคโปร์ไปสู่เป้าหมายของเป็นศูนย์กลางการให้บริการเป็นเลิศระดับโลก        

                นอกจากนี้  การมีโอกาสไปชมวัดสำคัญของไทยในสิงคโปร์  เช่น  วัดป่าเลไลย์  ซึ่งปัจจุบันชาวสิงคโปร์ได้เข้ามา มีบทบาทดำเนินงานและควบคุมงานทั้งหมด  ไม่ใช่พระไทยอีกต่อไป  พบว่า        คณะกรรมการของวัดที่เป็นชาวสิงคโปร์นี้   มีความเข้มแข็ง  มีวินัย  และมีการกลุ่มผู้บริหารที่มีประสบการณ์มาดูแลกำกับการดำเนินงานของวัดให้มีระเบียบและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น  เฉกเช่นการบริหารกิจการธุรกิจขนาดย่อม  ที่สำคัญวัดแห่งนี้มีการเปิดสอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์  โดยครูผู้สอนเป็นชาวสิงคโปร์ที่มีความรู้ด้านศาสนาอาสาสมัครเข้ามาสอนให้เด็ก ๆ ชาวสิงคโปร์ประมาณ 5-7 ขวบ สัปดาห์ละ 1 ครั้งเวลา 13.00-15.00 น.  โดยสอนหลักธรรม  มี 4 ห้อง  แยกตามอายุของเด็กและความเหมาะสมในการเรียนรู้   ซึ่งเน้นการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง  จากนั้นคุณครูก็พาเด็กไปฝึกนั่งสมาธิชั้น 3 ที่เป็นห้องภาวนาโดยเฉพาะ  ประมาณ 30 นาที   ผู้ปกครองจ่ายค่าเรียนให้เด็กคนละ 30 เหรียญสิงคโปร์ต่อ 1 ภาคการศึกษา     จะเห็นว่าแม้สิงคโปร์จะไม่มีวัดมาก  แต่เขาก็เริ่มสนใจนำหลักพุทธศาสนาเข้ามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน   ที่สำคัญมุ่งให้เด็กของเขาได้เรียนรู้ธรรมะเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและฝึกนั่งสมาธิเพื่อให้เข้าถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนา   ผู้อำนวยการโรงเรียนจะพาเด็กนักเรียนมาฟังคุณครู เฉกเช่นสมัยก่อนวัดในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเปิดสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้ฟรีมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ทำให้เด็กไทยได้ฝึกเรียนรู้ธรรมะ  อีกทั้งได้รู้ภาษาอังกฤษไปด้วย  ตรงข้ามกับปัจจุบันที่กระทรวงศึกษาธิการของไทยตัดวิชาศีลธรรมออก  ตลอดจนแทบไม่มีการเปิดสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์เหมือนสมัยก่อน  เพราะไม่เป็นที่นิยมของวัยรุ่นไทยที่เน้นเรียนอินเตอร์เน็ทหรือเรียนพิเศษมากกว่า   เมื่อเยาวชนไทยขาดศีลธรรม  ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร?

    จะเห็นว่าสิงคโปร์กำลังพัฒนาคุณค่าทรัพยากรมนุษย์ที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  โดยเน้นการเพิ่มทักษะความรู้ใหม่ที่ล้ำสมัยคู่คุณธรรมตามหลักพุทธศาสตร์  ที่แม้แต่สหประชาชาติยกย่องและยอมรับวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก         ซึ่งทศวรรษที่ 21 ถือว่าความโดดเด่นที่ไร้เทียมทานของทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร     ดังที่บรรพบุรุษของไทยและกษัตริย์ไทยอย่างเช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ได้ทรงประยุกต์ใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ในการปกครองและการรบจนได้ชัยชนะ  และสามารถรักษาผืนแผ่นดินไทยเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานไทยปัจจุบัน  ยิ่งในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชที่ทรงใช้หลักทศพิศราชธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์แห่งมหาชนชาวสยาม"  ทำให้ประเทศไทยเกิดความสงบร่มเย็นอย่างต่อเนื่อง    และทรงเสนอแนะหลักเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เพื่อให้ประชาชนชาวไทยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและธุรกิจเพื่ออยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน 

  การสร้างคุณค่าการตลาดจึงจำเป็นยิ่งต่อสังคมไทย   เราจะเริ่มกันที่ไหน  ก็ต้องที่ตัวเราก่อน  ค้นคว้าหาความรู้สมัยใหม่พร้อมคุณธรรมที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา  นำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ   จนเกิดผลที่มั่นใจว่าไปถูกทางแล้ว  จึงค่อยเผยแพร่ออกไปช่วยคนอื่น ๆ   เพื่อให้แผ่นดินไทยเกิดภูมิปัญญาและภูมิคุ้มกันอย่างแท้จริง  เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ที่จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลกโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ดีงาม รวมทั้งคุณธรรมอันล้ำค่าที่มนุษย์ต้องอาศัยพึ่งพิงเพื่อให้เกิดสันติสุขทั่วหล้า

   ด้วยเหตุนี้โครงการคุณค่าการตลาดกับบทบาทการสร้างสรรค์สังคมไทย  จึงเกิดขึ้น เพื่อเปิดให้บริการอบรมความรู้แนวคิดใหม่ ฟรี แก่นักธุรกิจขนาดย่อมและผู้สนใจเป็นเวลา 1 ปี ระหว่างเดือนสิงหาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554   ถวายพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา  โดยเปิดอบรมเดือนละ 1 ครั้ง ๆ ละสองรอบ  รอบเช้าเวลา 9.00-12.30 น.  รอบบ่ายเวลา 13.30-16.30 น.    รับจำนวนจำกัด      ผู้สนใจสามารถสมัครเข้ารับการอบรมได้เพียง 1 ครั้งและรอบเดียวเท่านั้น  แต่จะได้รับประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติม  เช่น  การได้รับคำปรึกษาฟรี  การได้รับการอบรมฟรีแก่พนักงานขององค์กรฯลฯ   หากผ่านเกณฑ์ประเมินตามที่กำหนด    สนใจสามารถสมัครทางอีเมล์ที่   somdeetu@gmail.com  โดยระบุชื่อ ที่อยู่ อีเมล์และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้สะดวก  ตลอดจนระบุประเภทธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่ ความรู้ที่ต้องการฯลฯ   สามารถดูความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการได้ที่ http//somdeetu99.blogspot.com   

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

คุณค่าการตลาดกับบทบาทการสร้างสรรค์สังคมไทย 3

โครงการคุณค่าการตลาดกับบทบาทการสร้างสรรค์สังคมไทย  เป็นโครงการพิเศษ  ที่เน้นการอบรมให้ความรู้การตลาดแนวใหม่ที่น่าสนใจ
และช่วยให้เกิดการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน   โครงการนี้มีระยะเวลา
1 ปี  เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 - เดือนกันยายน 2554  โดยจัดอบรมทุกเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 2 รอบ  คือ  รอบเช้าเวลา 9.00-12.00 น. 
รอบบ่ายเวลา 13.30-16.30 น. 

ผู้สนใจสมัครได้ที่ somdeetu@gmail.com  โดยส่งชือ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อกลับ  เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมและผลประโยชน์อื่น ๆ
ที่จะได้รับ   โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  รับจำนวนจำกัด

ดูความเป็นมาของโครงการและวัตถุประสงค์ (เขียนเมื่อ 20 มิ.ย. 53) ที่ http://somdeetu99.blogspot.com 

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คุณค่าการตลาดกับบทบาทการสร้างสรรค์สังคมไทย

ความวุ่นวายของบ้านเมืองที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อประชาชนและนักธุรกิจ ทำให้ผู้รักชาติและห่วงใยประเทศจำนวนไม่น้อยที่ออกมาให้ความเห็นและพยายามหาทางออกให้กับสังคมไทย ในฐานะที่ดิฉันเป็นอาจารย์ด้านการตลาดมานานกว่า 30 ปี หากได้ใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่มาช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน ดังที่บรรพบุรุษของไทยได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถรักษาแผ่นดินไทยไว้ได้จนถึงปัจจุบันนี้
ก็คงเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้บำเพ็ญคุณความดีอีกทางหนึ่งและได้ทำหน้าที่ของคนเป็นครูให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในฐานะเป็นพลเมืองไทยและเป็นข้าราชบริพารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์แห่งมหาชนชาวสยามนับตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา
ดิฉันจึงได้จัดทำโครงการคุณค่าการตลาดกับบทบาทการสร้างสรรค์สังคมไทยขึ้น โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ คือ
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการตลาดที่เป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดย่อม
และขนาดกลาง (SME)
2. เพื่ออบรมให้ความรู้การประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยด้านการตลาดในทางปฏิบัติที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจไทยให้
เติบโตอย่างยั่งยืน
3. เพื่อให้คำปรึกษาด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดกลาง (SME) ที่จะช่วยให้เกิดการ
พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
4. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย และนักธุรกิจที่จะช่วยให้เกิด
การพัฒนาแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยและโลก

โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการในเดือนกรกฎาคม 2553 เป็นต้นไป โดยจะเริ่มเผยแพร่ผลงานวิจัยและอบรมการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยด้านการตลาด ฟรี รุ่นแรกในวันที่ 24 ส.ค. 53 โดยมี 2 รอบให้เลือก รอบเช้าเวลา 9.00-12.00 น. รอบบ่ายเวลา 13.30-16.30 น. รับจำนวนจำกัด

ผู้ประกอบการ SME ท่านใดสนใจสามารถสมัครได้ที่อีเมล์ somdeetu@gmail.com  โดยให้ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทร พร้อมอีเมล์ที่สะดวกในการติดต่อกลับ เพื่อแจ้งผลการได้เข้ารับการอบรมและบริการพิเศษอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 081-683-6719



โครงการคุณค่าการตลาดกับบทบาทการสร้างสรรค์สังคมไทย

เนื่องจากความไม่สงบของบ้างเมืองที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนและนักธุรกิจไทยต้องประสบปัญหา ในฐานะที่เป็นอาจารย์ด้านการตลาดมานานกว่า 30 ปี ซึ่งบทบาทของอาจารย์มี 4 ด้าน คือ 1. สอนหนังสือ 2. ทำวิจัย 3. ให้บริการวิชาการแก่สังคม และ 4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  หากได้นำความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาช่วยเหลือปัญหาของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ของอาจารย์  จึงได้จัดโครงการคุณค่าการตลาดกับบทบาทการสร้างสรรค์สังคมไทยขึ้น เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและอบรมให้ความรู้ในการนำผลวิจัยดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบธุรกิจ SME หรือธุรกิจชุมชน   โดยจะเปิดให้การอบรมฟรีทุกเดือน นับตั้งแต่เดือนสค. 53 เป็นต้นไป หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจ ให้สมัครที่อีเมล์: somdeetu@gmail.com และ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 081-683-6719 หรือดูที่ http://somdeetu99.blogspot.com